Back to Search Start Over

ผลของสารหน่วงการติดไฟชนิดไตรฟินิลฟอสเฟตที่มีต่อสมบัติของพอลิเบนซอกซาซีน : รายงานการวิจัย

Publication Year :
2014

Abstract

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์<br />เพื่อเพิ่มความสามารถในการทนการติดไฟของพอลิเบนซอกซาซีน สารประกอบที่ไม่มีธาตุฮาโลเจนประเภทที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบจะถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการหน่วงการติดไฟ งานวิจัยนี้พอลิเบนซอกซาซีนที่มีสมบัติทนการติดไฟ ถูกเตรียมโดยการผสมสารหน่วงการติดไฟประเภทที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบลงในเบนซอกซาซีนเรซินที่มีกลุ่มของแอริลเอมีนที่แตกต่างกันเป็นองค์ประกอบ สมบัติทางด้านการทนไฟความร้อนและทางกลถูกทำการทดสอบ อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเบนซอกซาซีนจะถูกทำการปรับเปลี่ยนเพื่อมีองค์ประกอบของธาตุฟอสฟอรัสที่แตกต่างกัน จากผล DSC แสดงให้เห็นว่า TPP ทำให้อุณหภูมิเริ่มต้นและอุณหภูมิ ณ จุดสูงสุดของพีคการคายความร้อนของการเกิดการเชื่อมโยงของเบนซอกซาซีนเรซินลดลง จากผลของ TGA อุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนของมวลที่สูญเสียไป 5% ของพอลิเบนซอกซาซีนมีค่าลดลงพอลิเบนซอกซาซีนทุกชนิดมีปริมาณเถ้าสูงขึ้นเมื่อปริมาณของ TPP เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าพอลิเบนซอกซาซีนจะสามารถทนการติดไฟได้มากขึ้น การทนการติดไฟของเทอร์โมเซตเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้โย limiting oxygen index (LOI) และมาตรฐานการทดสอบ UL-94 เผาในแนวตั้ง การเติม TPP 10% โดยน้ำหนัก ค่า LOI จะเพิ่มขึ้นจาก 23.5, 23, 22 เป็น 26, 25, 24 สำหรับ BA-a, BA-mt และ BA35x ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการติดไฟเรียงตามลำดับ คือ BA-a<BA-mt<BA-35x วัสดุจะสามารถผ่านการทนการติดไฟระดับสูงสุด คือ V-0 เมื่อมีการเติม TPP ที่ร้อยละ 2 โดยน้ำหนักสำหรับ BA-mt และ ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก สำหรับ BA-a และ BA-35x ซึ่ง TPP เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการทนการติดไฟของพอลิเบนซอกซาซีนทั้งสามชนิดถึงแม้ว่าจะมีการเติม TPP ในปริมาณน้อย นอกจากนั้นยังพบว่าความแข็งแรงและมอดูลัสภายใต้แรงดัดโค้งของพอลิเบนซอกซาซีนลดลงเมื่อมีการเติม TPP สุดท้ายยังเห็นได้ว่าค่าอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วของ BA-a, BA-mt และ BA-35x ลดลงเมื่อเติม TPP มากขึ้นทั้งนี้อาจเป็นผลของความเป็นสารเสริมสภาพพลาสติกของ TPP

Details

Database :
OAIster
Notes :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี, ศราวุธ ริมดุสิต, ณัติวรรณ ธรรมประสม, นิธินาถ ศุภกาญจน์, จันจิรา จับศิลป์
Publication Type :
Electronic Resource
Accession number :
edsoai.ocn946868701
Document Type :
Electronic Resource