1. ความสามารถเดินต่อเท้าแบบแทนเดม ในหญิงไทยสุขภาพดีช่วงอายุระหว่าง 20-79 ปี
- Author
-
โสภา พิชัยยงค์วงศ์ดี
- Subjects
- การเดินต่อเท้า, ความสามารถในการทรงตัว, Tandem walk, Balance performance
- Abstract
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเดินต่อเท้า (tandem walk)ในหญิงไทยสุขภาพดีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุและความสามารถในการเดินต่อเท้า ผู้เข้าร่วมการวิจัย:อาสาสมัครที่เข้าร่วมวิจัยมีจำนวนทั้งหมด 148 คน แบ่งเป็น 6 ช่วงอายุ คือ 20-29, 30-39, 40-49, 50-59, 60-69 และ 70-79 ปี วิธีการวิจัย: อาสาสมัครได้รับการตรวจ โดยให้เดินตามเส้นตรงที่ผู้วิจัยกำหนดไว้เป็นระยะทาง รวมทั้งหมด 30 ก้าว นับคะแนนความผิดพลาดของการเดินต่อเท้า และเวลาในการเดินต่อเท้าในจำนวน 20 ก้าว ตรงกลาง วิเคราะห์ผล: ทดสอบความแตกต่างระหวางกลุ่มอายุ โดยใช้ One Way ANOVA และ Post hoc test ด้วย Scheffe และหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ และความสามารถในการเดินต่อเท้าด้วย Pearson correlation ผลการวิจัย: พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนในการเดินของกลุ่มอายุ 20-29 และ 30-39 ปี (2.26±1.52 และ 2.76±2.77 ครั้ง ตามลำดับ) มีความแตกต่างจากกลุ่มอายุ 60-69 และ 70-79 ปี (6.63±4.45 และ 8.58±4.84 ตามลำดับ )อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และพบว่าเวลาที่ใช้ในการเดินต่อเท้าของกลุ่มอายุ 20-29 ปี (26.86±5.31 วินาที) ต่างจากกลุ่ม 70-79 ปี (38.35 ±9.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างอายุและความผิดพลาดในการเดินต่อเท้าในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า r =.477 (p < 0.05) และพบความสัมพันธ์ระหว่างอายุและเวลาที่ใช่้ในการเดินต่อเท้า ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า r = .301 (p < 0.05) สรุปผลการวิจัย: ความสามารถในการเดินต่อเท้าในช่วงอายุ 20-29 และ 30-39 ปี มีการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี และความสามารถในการเดินต่อเท้ามีค่าลดลงตามอายุการประยุกต์ใช้: การดูแลผู้สูงอายุที่มีอายุเพิ่มมากขึ้นควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี